#priwreadbooks อลิซในแดนมหัศจรรย์ และกระจกทะลุมิติ
Alice’s adventures in wonderland and Through the looking-glass
#สำนักพิมพ์แอร์โรว์ Lewis Carroll เขียน ชญาดา พาวเวลล์ แปล
ในหนังสือแบ่งเป็น 2 ภาค คือ
ภาค 1 อลิซในแดนมหัศจรรย์ และกระจกทะลุมิติ
- ในรังกระต่าย
- สระน้ำตา
- กรีฑารวมพลและเรื่องเล่าอันยาวเหยียด
- คำสั่งของกระต่าย
- คำแนะนำจากตัวหนอน
ฯลฯ
โดยภาค 1 เป็นภาคที่เราคุ้นเคยกันดี อ่านกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ (หรือไม่ก็ดูการ์ตูนกันมาก่อน)
ภาค 2 กระจกพิศวง และสิ่งที่อลิซค้นพบ
- บ้านกระจกเงา
- สวนดอกไม้มีชีวิต
- แมลงในโลกกระจกเงา
- ทวีดเดิลดัมและทวีดเดิลดี
- ขนแกะและน้ำ
ฯลฯ
ในปี 1862 ‘ลูอิส คาร์รอล’ ซึ่งเป็นนามปากกา ของ ‘ชาลส์ ลุทวิช ดอดจ์สัน’ นักคณิตศาสตร์ที่มีอุปนิสัย ขี้อายและพูดจาติดอ่าง เขาได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก ผู้หญิงตัวน้อย ซึ่งพลัดหล่นลงไปในโพรงกระต่าย และนี่คือ จุดเริ่มต้นของการผจญภัยซึ่งเป็นอมตะของอลิซในดินแดนอันพิศวง อลิซเป็นผู้กล้าตัวน้อย และถือว่าได้รับความนิยมอย่างสูงในประวัติศาสตร์วรรณกรรมของอังกฤษ มีนักวิชาการจำนวนนับไม่ถ้วนนั้นพยายามที่จะหาคำจำกัดความเกี่ยวกับตัวละครที่น่าสนใจในเรื่องนี้
ในภาคนี้ อลิซตกลงไปในโพรงกระต่าย ลึกลงไปๆ ได้พบกระต่ายขาวที่วิ่งไปวิ่งมา แมตแฮทเทอร์ หนอนผีเสื้อ ราชินีแห่งหัวใจ ทวีดเดิลดัม ทวีดเดิลดี แมวเชสเชียร์ เต่าจำแลง พระราชา การผจญภัยของเธอจบลงด้วยการที่เธอลืมตาตื่นขึ้นและพบว่าตัวเองหลับฝันไป และทุกอย่างก็กลับมาเป็นปกติ
ส่วนภาค 2 เรียกว่าเป็นภาคต่อของภาค 1 ก็น่าจะได้ โดยมีเรื่องย่อดังนี้
อลิซวัย 7 ขวบครึ่ง ที่อยากเข้าไปในโลกกระจก และต้องเข้าไปอยู่ตรงกลางระหว่างการแข่งหมากรุกของราชินีแดงและราชินีขาว ที่มีตัวละครอย่าง ฮัมพ์ตี้ดัมพ์ตี้ และแฝดพี่น้องทวีดเดิ้ล รวมถึงแมดแฮทเทอร์เป็นคู่ต่อสู้
บทบาทของตัวละครดังกล่าวมักสอดแทรกการล้อเลียนทางภาษา โดยมีนัยล้อเลียนวรรณกรรมเยาวชนในสมัยวิคตอเรียน เรื่องราวการผจญภัยของอลิซนั้นมีความน่าสนใจ และชวนให้พิศวงว่า ความหมายอันแท้จริงของสิ่งที่ลูอิส แคร์รอลสื่อออกมานั้นคืออะไร มันอาจเป็นแค่การเล่าเรื่องราวความฝัน เป็นเพียงการเล่าเทพนิยายหรืออาจหมายถึงการฉายมุมมองของเด็กคนหนึ่งที่มีต่อโลกใบนี้
ลักษณะนิสัยของเด็กหญิงอลิซ ที่เป็นคนกล้าพูดกล้าคิด และชอบลองอะไรใหม่ๆ และบทสนทนาที่ปรากฎในเรื่อง ก็เปรียบเหมือนสภาพจิตใจของเด็ก ที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น เต็มไปด้วยความสับสน ไม่แน่ใจ ไม่รู้ว่าตัวเองควรจะเดินไปทางไหน นับตั้งแต่แรกเริ่ม เมื่ออลิซได้พบกับเจ้าแมวเชสเชียร์ (ที่มักฉีกยิ้มตลอดเวลา) และถามมันว่า “ฉันควรจะไปทางไหน” เจ้าแมวกลับย้อนถามเธอว่า “แล้วเธอคิดว่าจะไปทางไหนล่ะ” อลิซที่สับสนหนักตอบไปว่า “ฉันก็ไม่รู้” เจ้าแมวจึงตอบกลับว่า “ถ้าอย่างนั้นมันก็ไม่สำคัญ”
เมื่อหนอนผีเสื้อถามอลิซว่า “เธอเป็นใคร” และเธอตอบอย่างสับสนว่า “ฉันรู้ว่าตัวเองเป็นใครเมื่อเช้า แต่ตอนนี้ไม่รู้แล้ว แต่ ณ ตอนนี้ ฉันรู้แค่ว่า ฉันเปลี่ยนแปลงไปมากจากตอนนั้น”
ถ้าเราเจอคำถามแบบที่อลิซเจอ เราจะตอบอะไรได้บ้าง “เราเป็นใคร” “เรารู้ตัวหรือยังว่าจะเดินไปทางไหน” “เราได้ใช้เวลาในชีวิตคุ้มค่าแล้วหรือไม่”
บางที ดินแดนมหัศจรรย์ อาจอยู่ใกล้กว่าที่เราคิด… นั่นก็คือ “ภายในใจของเราเอง”